วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

750 ปีเชียงราย กับการพัฒนาอาเซี่ยน

จากเวทีเหลียวหลังแลหน้า : 750 ปี เชียงรายสู่หนึ่งเมืองหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน  ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕  ณ โรงแรงริมกก รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย 
เป็นเวทีสัมมนาเชิงนโยบายและวชาการ  การพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายในบริบทการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานถนน R3A  ตามระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้  และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Mr. Rattatay  Luanglatbandith  ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย   ได้กล่าวถึงความคืบหน้า  และความพร้อมของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  แลการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้  นอกจากนี้ยังได้มีผู้แทนจาก ประเทศพม่า  ลาว  จีน  ไทย ได้เสวนาร่วมกันเกี่ยวกับ  โอกาส อุปสรรค  และแนวทางการขยายการเชื่อมโยงและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อบ้าน

จากเวทีสัมมนา กล่าวถึงความคืบหน้าที่ผ่านมา พยายามดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานกับการอำนวยความสะดวก  ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  ทั้งเรื่องถนน  ไฟฟ้า การลงนามในการเดินรถระหว่างประเทศ   รวมถึงเส้นทางรถไฟความเร็วสูง  ในส่วนของประเทศไทย  ยังมีข้อติดขัดของรัฐธรรมนูญ ปี 2550  และติดขัดทางข้อกฎหมาย 3 ฉบับ เช่น กฎหมายด้านศุลกากร  และอนุญาญาที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดำเนินการลงนามอีก 5 ฉบับ

ในส่วนของพื้นที่จังหวัดเชียงราย  ที่ต้องการพัฒนาสู่หนึ่งเมืองหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนจะเป็นจริงได้หรือนั้น  หลายสิ่งหลายอย่างมีความสอดคล้องกันและมีความได้เปรียบอยู่บ้างที่มีที่ตั้งติดต่อกับ 3 ประเทศ  และมีพื้นที่ที่เปิดชายแดนถึง 3 แห่ง  คือ อำเภอแม่สาย  อำเภอเชียงแสน  และอำเภอเชียงของ  แต่ในส่วนของการศึกษาเรื่องผลกระทบในด้านต่าง ๆ  โดยเฉพาะด้านความมั่นคง  ด้านสิ่งแวดล้อม  ยังมีการศึกษาวิจัย  หรือพูดถึงเรื่องนี้ยังน้อยมาก    หลายคนตั้งคำถามว่าแล้วคนเชียงรายจะได้อะไร   และชาวบ้านจะได้อะไร   มีเข้าร่วมสัมมนาท่านหนึ่งตอบว่า " ได้รถผ่านจังหวัดเราไง"   ฮา.........อย่างไรก็ตามพี่น้องประชาชนคนเชียงราย  คนต้องศึกษาและติดตามกันต่อไป
 

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ชาวบ้าน เฮ !!! นายกรัฐมนตรีเซ็นแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา




วัน ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ ณ บริเวณหน้าธนาคารแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม : Pmove ได้ย้ายการรวมพลที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ไปยังที่ประชุม ครม.สัญจรเพื่อรอฟังคำตอบจากนายกรัฐมนตรี นาวสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเล็กน้อย ชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่าถูกเหยียบบริเวณชายโครง และได้ไปพบแพทย์แล้ว หลังจากนั้นชาวบ้านก็ได้นั่งรอคำตอบด้วยความสงบ ต่อมาเวลาประมาณ ๑๒.๐๐ น. นายกได้ลงนามเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่ เป็นธรรม : Pmove ในที่สุด ชาวบ้านที่เดินทางมาจาก ๔๐ องค์กร ทั่วประเทศไทย จึงยอมสลายตัวกลับภูมิลำเนา

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชาชนติดตามความคืบหน้าการแต่งตั้ง่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน จากนายกรัฐมนตรี



พี่ น้องประชาชนผู้เดือนร้อนเรื่องปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ของจังหวัดเชียงราย ได้เข้าร่วมติดตามความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ ในวันที่่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๕ ณ.ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ น. กับขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม : Pmove ที่เดินทางมาร่วมกันทั่วประเทศ ได้มีแถลงการณ์ฉบับที่ ๘ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๕
นายกรัฐมนตรีส่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนรัฐบาลประชุมร่วม หาแนวทางร่วมกันกับ ชาวบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบและประสบปัญหาความเดือดร้อน และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการแก้ไขปัญหา และรับปากว่าจะให้นายกลงนามคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการแก้ไขปัญหาอย่งเร่งด่วน และได้เชิญตัวแทนผู้นำเข้าหารือต่อ สิ่งที่ได้คำตอบจะเรียนให้นายกทราบต่อไป

แกน นำชาวบ้านคนหนึ่ง กล่าวว่า เคยยื่นหนังสือให้กับรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาในงานวันที่อยู่อาศัยโลก นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ลงนามจนถึงปัจจุบัน เมื่อทราบว่า นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาประชุม ครม. สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงพากันมาติดตามความคืบหน้าด้วยตนเอง

ความคืบหน้าจะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามต่อไปในวันพรุ่งนี้ีอีกครั้งหนึ่ง

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ปจช. ลงพื้นที่สำรวจตรวจสอบพื้นที่ขอจัดโฉนดชุมชน ๓ หมู่บ้าน จังหวัดเชียงราย



เมื่อวันที่ ๒๕-๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔  คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจตรวจสอบชุมชนที่ขอจัดโฉนดชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  ๓ หมู่บ้าน  คือบ้านแม่ปูนน้อย ต.สันสลี  อ.เวียงป่าเป้า   บ้านห้วยหาน ต.ปอ  อ.เวียงแก่น  และบ้านห้วยลุหลวง ต.แม่ยาว  อ.เมือง 


ชาวบ้านให้การต้อนรับพร้อมกับนำเสนอข้อมูลและกระบวนการการจัดการที่ดินโดยชุมชน การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน  กฎกติกาชุมชน  ประวัติการตั้งถิ่นฐาน และขอบเขตแผนที่ชุมชน  รวมถึงการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็ง   คณะกรรมการชุมชนได้พาคณะกรรมการ ปจช. เยี่ยมชมหมู่บ้าน  สภาพพื้นที่ร่องรอยการใช้ประโยชน์และ นำเสนออาหารชนเผ่าที่แสนอร่อยที่ปรุงจากผักพื้นถิ่นให้ได้ลองรับประทานกัน  นอกจากนี้ยังมีของฝากจากชุมชน  เป็นกระเป๋าย่ามและข้าวเหนียวแดงอีกด้วย