วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พีมูฟ-สกน. 200 ชีวิตตบเท้าให้กำลังใจ 2 แกนนำสู้คดีปฏิรูปที่ดินบ้านโป่ง
วันที่ 2 พ.ค. 2555 เวลา : 19:08 น.
เชียงใหม่/พี-มูฟผสานพลังสกน.เรียกร้องความเป็นธรรมให้สองแกนนำบ้านโป่ง หลังเข้ายึดที่ดินรกร้างของเอกชนมาจัดสรรโฉนดชุมชนกว่า 10 ปี ด้านอัยการเชียงใหม่ขานรับเลื่อนวันพิจารณาส่งฟ้อง
วันนี้ 2 พ.ค. 2555 ตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พี-มูฟ: P move) ร่วมกับตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) จากพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา กว่า 200 คน รวมตัวที่หน้าสำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้กำลังใจแกนนำชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดีจากกรณีเข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ รกร้างว่างเปล่าของนายทุน จากนั้นได้เคลื่อนขบวนเดินรณรงค์บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ อ่านแถลงการณ์และส่งไปรษณียบัตรถึงนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เร่งรัดให้รัฐบาลดำเนินการโฉนดชุมชน ตลอดจนผลักดันการจัดตั้งธนาคารที่ดิน และยุติการจับกุมข่มขู่คุกคาม
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.00 น. นายดิเรก กองเงิน และนายมนตรี บัวลอย ชาวบ้านจากชุมชนบ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ สองผู้ต้องหาในคดีบุกรุกที่ดินของเอกชน (บริษัทบริพัตรบ้านและที่ดิน) ได้เข้าพบพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่เพื่อยื่นหนังสือคำร้องขอความเป็น ธรรมต่ออัยการ หลังพนักงานสอบสวนส่งสำนวนว่า ทั้งสองคนได้ร่วมกันบุกรุกที่ดินของผู้อื่นจำนวน 31 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546
ทั้ง นี้ระหว่างที่เข้าพบพนักงานอัยการนั้น ชาวบ้านที่รวมตัวอย่างสงบบริเวณด้านหน้าสำนักงานอัยการจังหวัดได้สลับกัน ขึ้นเวทีกล่าวปราศัยผ่านเครื่องขยายเสียง และชูธงเขียวที่มีข้อความ "เกษตรกรนะ ไม่ใช่อาชญากร" ต่อมาเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการได้เจรจาให้ยุติการใช้เครื่องขยายเสียง และขอให้นายดิเรก กองเงิน นายมนตรี บัวลอย ตัวแทนชาวบ้านและทนายเข้าไปเจรจากับนายเกียรติศักดิ์ ไตรแสงรุจิระ อัยการจังหวัดเชียงใหม่
นาย ดิเรก กองเงิน ประธานกลุ่มปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนบ้านโป่ง ชี้แจงว่า ตนต้องการยื่นหนังสือคำร้องขอความเป็นธรรมกับคดีที่ทั้งหมด 4 คดี แบ่งเป็นคดีแพ่ง 1 คดี และคดีอาญา 3 คดี เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้งธนาคาร ที่ดิน ภายใต้งบประมาณจำนวน 167 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชุดก่อนได้อนุมัติหลักการแล้ว โดยการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของชุมชนบ้านโป่งจะนำเงินส่วนกลางเจรจาขอซื้อ ที่ดินเพื่อยุติข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งเจ้าของที่เป็นผู้ยื่นฟ้องก็ยินยอมที่จะขายแล้ว อย่างไรก็ตามแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรียังไม่ชัดเจน ซึ่งในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ จะมีการนำเรื่องโฉนดชุมชนและการจัดตั้งธนาคารที่ดิน ตามที่รัฐบาลประกาศไว้เข้าสู่การพิจารณาของครม. ฉะนั้นการส่งสำนวนของเจ้าพนักงานสอบสวนมาถึงอัยการเพื่อให้อัยการพิจารณา ยื่นฟ้องหรือไม่นั้นจึงไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย
ทั้ง นี้ เนื้อหาจากหนังสือรับรองความเป็นธรรมส่วนหนึ่ง ระบุว่า ข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนไม่เป็นความจริงและไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากที่ดินทั้ง 31 แปลงนั้น ไม่ได้เป็นที่ดินที่มีอาณาเขตติดกันเป็นผืนเดียว การนำที่ดินทั้งหมด 31 แปลงมากล่าวหาว่าบุคคลทั้งสองได้บุกรุกนั้นถือไม่เป็นธรรม อีกทั้งที่ดินตามเอกสาร น.ส.3 ก ทั้งหมด เป็นเอกสารสิทธิการครอบครองเท่านั้น ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ เมื่อที่ดินไม่ทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2545 มาจนปัจจุบันซึ่งเกิน 5 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6 ถือว่าสละสิทธิในที่ดินแล้ว นอกจากนี้เมื่อผู้ร้องทุกข์ ยอมรับเองว่าถูกบุกรุกแย่งการครอบครองที่ดินตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 แต่ไม่เคยใช้สิทธิฟ้องขอคืนการครอบครองนานเกินกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง ผู้ร้องทุกข์ย่อมสิ้นสิทธิในที่ดิน ไม่มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษในที่ดิน น.ส.3 ก จำนวนทั้งหมด 27 แปลงได้
นาย ดิเรก ขยายความว่า ตนและนายมนตรี บัวลอย เป็นสมาชิกของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์ในการผลักดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรราย ย่อยทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมามีนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดินในชุมชนบ้านโป่ง และนำไปออกเอกสารสิทธิ์เพื่อนำไปจัดสรรเก็งกำไร ตลอดจนจะเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ทิ้งขยะของเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งชาวบ้านก็คัดค้านมาโดยตลอด เมื่อไม่ประสบความสำเร็จต่อมาก็ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ชาวบ้านซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อยไร้ที่ทำกินจำนวน 79 ครอบครัว จึงเข้าไปจัดสรรที่ดินในรูปโฉนดชุมชนห้ามซื้อขาย และร่วมมือกับคปท. เรียกร้องให้รัฐบาลนำที่ดินไม่ทำประโยชน์มาปฏิรูปจัดสรร ซึ่งตนได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้เป็นอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่สาธารณะประโยชน์ ที่เอกชนปล่อยรกร้างและเหมืองแร่ จนมีการจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน โดยหากเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ตามกฎหมายก็ให้สถาบันฯเจรจาซื้อเพื่อจัดสรร ให้กับเกษตรกรไร้ที่ดินต่อไป ซึ่งมีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554
นาย เกียรติศักดิ์ ไตรแสงรุจิระ อัยการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนจะรับหนังสือขอความเป็นธรรมไว้รับพิจารณา จะไม่พิจารณายื่นฟ้องในวันนี้ และจะดำเนินการสอบเพิ่ม ส่วนเอกสารทั้งหมดที่เป็นประโยชน์กับผู้ถูกกล่าวหาให้ทนายจัดทำเข้ามาเพื่อ ทำสำนวน และรวบรวมเป็นหลักฐานทั้งหมด ทั้งนี้คดีนี้จะหมดอายุความในวันที่ 3 มิถุนายน 2555 ทางทนายจึงต้องเร่งจัดทำเอกสารเพิ่มเติมภายใน 15 วัน
เมื่อ การเจรจาเสร็จสิ้นตัวแทนชาวบ้านได้แถลงผลการเจรจาแก่ผู้มาร่วมให้กำลังใจ ซึ่งสร้างความพึงพอใจอย่างมาก โดยผู้มาร่วมให้กำลังใจได้ส่งเสียงโห่ร้องด้วยความดีใจอื้ออึงไปทั่วบริเวณ ต่อมาเวลา 12.30 น. ตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พี-มูฟ: P move) และตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ทั้งหมดจึงตั้งขบวนเดินรณรงค์ ชี้แจงวัตถุประสงค์การรวมตัวในครั้งนี้ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ราชการจังหวัด เชียงใหม่ และนำไปรษณียบัตรของชาวบ้านในเครือข่ายฯ ซึ่งเขียนถึงนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปส่ง ณ ที่ทำการไปรณีย์ของศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยเนื้อหาระบุให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการโฉนดชุมชน ตลอดจนผลักดันการจัดตั้งธนาคารที่ดิน และยุติการจับกุมข่มขู่คุกคามชาวบ้านเป็นต้น
หลัง จากนั้นจึงมารวมตัวบริเวณหน้าศาลากลางโดยสงบ ปราศัย อ่านแถลงการณ์ และยื่นหนังสือถึงรัฐบาลผ่านนายฤทธิพงศ์ เตชะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยสาระสำคัญของจดหมายเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนชุมชนในคณะกรรมการบริหารสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) โดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อดำเนินการจัดซื้อที่ดินตามโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 5 แห่งในพื้นที่ บ้านท่ากอม่วง ไร่ดง แพะใต้ แม่อาว จ.ลำพูน และบ้านโป่ง อ.สันทราย ตามมติครม.วันที่ 22 ก.พ. และ 8 มี.ค. 2555 อีกทั้งเร่งรัดให้ผลักดันพรบ.ส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดิน ป่าไม้เข้าสู่การพิจารณาของครม.และผลักดันเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร์ ทั้งนี้ใน ระหว่างพรบ.ดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้ให้รัฐบาลดำเนินการรับรองสิทธิให้ ชุมชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน 2553 รวมถึงให้รัฐบาลสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ยุติการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม และตัดฟันพืชผลอาสินของชุมชนที่อยู่อาศัย และทำกินในพื้นที่เดิม ในระหว่างรอการแก้ไขปัญหาตามแนวนโยบายของรัฐบาล
อนึ่ง ข้อกล่าวหาบุกรุกที่ดินบ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ทำให้เสียทรัพย์ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งเป็นที่ดินของบริษัทบริพัตรบ้านและที่ดิน เป็นผลสืบเนื่องจากเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 นายดิเรก กองเงิน นายมนตรี บัวลอยและชาวบ้านแม่แฝก ไม่ยินยอมให้บริษัทบริพัตรบ้านและที่ดิน เข้าพื้นที่รังวัดในที่ดินบ้านโป่งเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ หลังจากปล่อยให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่ามาเป็นเวลานาน อีกทั้งชาวบ้านได้ใช้พื้นที่เป็นที่ดินทำกินของชาวบ้านมาเป็นเวลานานแล้ว จึงทำให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทบริพัตร แจ้งความและขอให้ตำรวจในพื้นที่เข้ามาดูแลและมีตำรวจเข้ามาสมทบกว่า 100 นาย จนเกิดเป็นคดีความในที่สุด.
     
http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n6_02052012_01

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

ที่ดินแม่สายยืดเยื้อไม่หยุด



ข่าว.ที่ดินแม่สายยืดเยื้อไม่หยุดอดีตปลัดประท้วงอีก
เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีกลุ่มประชาชนจากชุมชนบ้านเกาะทราย ม.7 ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำสายชายแดนไทย-พม่า จำนวนประมาณ 100 คน ไปชุมนุมกันที่ที่ว่าการ อ.แม่สาย เพื่อเรียกร้องให้ทางอำเภอช่วยติดตามความคืบหน้ากรณีชาวบ้านเคยชุมนุมให้มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ชุมชนเกาะทรายและข้างเคียง โดยชาวบ้านซึ่งนำโดยนายปรีช ศรีเพชร อดีตปลัด อ.แม่สาย นายประชัน แสนธิเลศ ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 ระบุว่าเคยเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและเคยมีการรับปากมาแล้วหลายครั้ง แต่ปัญหายังคงยืดเยื้อโดยเฉพาะการที่ในพื้นที่มีทั้งผู้ที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ที่ดินและไม่ได้รับ โดยกลุ่มที่ได้รับเป็นเอกชนรายใหญ่ๆ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ปะปนกันกลับไม่ได้รับและกลายเป็นอาศัยอยู่บนที่ดินสาธารณะติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว ต่อมานายภูดิส เนตรสุวรรณ์ ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบงานศูนย์ดำรงธรรม เป็นตัวแทนนายอำเภอมารับเรื่องร้องเรียน ทำให้ผู้ชุมนุมสลายตัว

สำหรับปัญหาที่ดินริมฝั่งลำน้ำสายดังกล่าวเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว โดยเกิดจากการที่ชาวบ้านได้ครอบครองที่ดินอาศัยอยู่กินที่ชายแดนประมาณ 200 ไร่ มาได้นานกว่า 70 ปีแล้วโดยผู้ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเป็นคนรุ่นลูกหลาน แต่ปรากฎว่าในปัจจุบันมีเพียงเอกชนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ปะปนกับชาวบ้านประมาณ 18 ไร่ ขณะที่ที่ดินส่วนใหญ่ซึ่งมีชาวบ้านอาศัยอยู่ร่วม 700 หลังคาเรือน ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะทราย ไม้ลุงขน บ้านเหมืองแดง ฯลฯ กลับยังไม่มีเอกสารสิทธิ์แต่อย่างใด ทำให้ชาวบ้านเกิดข้อสงสัยและเรียกร้องกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2539


ข้อมูล โดย  Kriangkrai Punyokat